ระบบบ้านอัจฉริยะที่ดีนั้นควรจะมีวิวัฒนาการที่ดีขึ้น มีระบบที่ดีขึ้น ให้ประสบการณ์กับผู้ใช้ที่ดีขึ้น แต่จนถึงวันนี้ มันซับซ้อน สับสน และมีราคาแพง ยังกำแพงซึ่งกั้นขวางนวัตกรรมอยู่ เนื่องจากนักพัฒนาต่างมุ่งเน้นไปที่การทำให้อุปกรณ์และระบบของตนเอง แทนที่จะใช้เวลาสร้างผลิตภัณฑ์และคุณลักษณะใหม่ที่ดีขึ้น ปัจจุบันมาตรฐาน Zigbee, Z-Wave, Wi-Fi และ Bluetooth ยังมีข้อเสียอยู่เช่น WiFi Wi-Fi ใช้พลังงานมากเกินไปสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้แบตเตอรี่ , Bluetooth ก็มีข้อจำกัดด้านระยะ ส่วน Zigbee หรือ Z-wave ก็จะต้องมี hub หรือ gateway เป็นตัวกลางเชื่อมต่อซึ่งจะดูวุ่นวายเกินไป นั่นคือเหตุผลว่าทำไมจึงต้องมี Matter เข้ามา การซื้ออุปกรณ์สมาร์ทโฮม แล้วแค่เสียบปลั๊กแล้วอุปกรณ์จะทำงานร่วมกับสมาร์ทโฮมที่เหลือของคุณ ตั้งค่าอุปกรณ์ใหม่นั้นด้วยแอพบ้านอัจฉริยะที่คุณถนัด และควบคุมด้วยผู้ช่วยเสียงที่คุณเลือก ไม่ว่าจะเป็น Siri, Alexa, หรือ Google assistant ไม่ว่าใครจะเป็นคนสร้าง อาจฟังดูห่างไกลจากความเป็นจริง แต่สามารถเป็นความจริงได้ด้วยแมทเทอร์ มาตรฐานการเชื่อมต่อแบบโอเพนซอร์สใหม่ที่ร่วมกันสร้างขึ้นโดยบริษัทมากกว่า 200 บริษัท แมทเทอร์ เป็นมาตรฐานการสื่อสารที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เธรด(Thread), Wi-Fi, บลูทูธ และอีเธอร์เน็ต — เพื่อให้อุปกรณ์ทั้งหมดของคุณสามารถสื่อสารกันในพื้นที่โดยไม่จำเป็นต้องใช้ คลาวด์…
ระบบบ้านอัจฉริยะ (Smart home) และ ระบบควบคุมการทำงานในบ้าน (Home automation) คือ ส่วนหนึ่งของระบบควบคุมบ้านและอาคารอัตโนมัติ เน้นการทำงานเพื่อสร้างความสะดวกสบายและเพิ่มความปลอดภัยสำหรับผู้อาศัย ระบบควบคุมการทำงานในบ้านมีหลากหลายเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติในบ้าน เช่น การควบคุมแสงสว่าง การควบคุมอุณหภูมิและความชื้น การควบคุมการปิดเปิดประตูหน้าต่าง ระบบรักษาความปลอดภัย ที่ใช้ในระบบควบคุมการทำงานในบ้านอัจฉริยะ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มเติมฟังก์ชันการทำงาน เช่น ระบบควบคุมความบันเทิงต่างๆ ระบบรดน้ำต้นไม้ ระบบให้อาหารสัตว์เลี้ยง ระบบความคุมแสงสว่างตามบรรยากาศต่าง เช่น บรรยากาศในการทานอาหารเย็น บรรยากาศในการจัดงานปาร์ตี้ ได้โดยง่าย ระบบควบคุมการทำงานในบ้านจะติดตั้งในช่วงของการก่อสร้างบ้าน โดยส่วนใหญ่จะเดินสายควบคุมในผนังก่อนการตกแต่งบ้าน สายควบคุมจะต่อเข้ากับเครื่องควบคุมการทำงานเพื่อควบคุมระบบต่างๆตามที่ต้องการ
เทรนด์เทคโนโลยีสมาร์ทโฮมในปี 2021 คือ เทคโนโลยี IOT ที่ช่วยให้คุณสามารถควบคุม สั่งการ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทุกอย่างภายในบ้าน ได้ง่ายๆผ่านปลายนิ้วสัมผัส ผ่านเทคโนโลยี IOT บนสมาร์ทโฟน ซึ่งการนำเอาเทคโนโลยีนี้ เข้ามาใช้ จะช่วยเปลี่ยนบ้านแบบเดิม ให้กลายเป็นบ้านแบบสมาร์ทโฮมอัจฉริยะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดูแลรักษาความปลอดภัย การตรวจเช็คบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่าง. ตลอดจนไปถึงระบบอัตโนมัติต่างๆ ที่ช่วยทำให้ชีวิตประจำวันของคุณนั้นเป็นเรื่องง่าย มากยิ่งขึ้น ! แต่จะง่ายขนาดไหน วันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับอุปกรณ์ IOT ที่จะเปลี่ยนการใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ให้เป็น Smart Life In Smart Home 1.Smoke Detection เครื่องตรวจจับควันอัจริยะ อุปกรณ์ ตรวจจับควัน โดยเซนเซอร์จะทำหน้าที่ตรวจสอบควันในบ้าน พร้อมทำการแจ้งเตือนไปยังสมาร์ทโฟนผ่านแอพพลิเคชั่น ได้ทันที แบบอัตโนมัติ ทำให้คุณทราบทันที สามารถป้องกันอัคคีเพลิงได้ทันท่วงที 2.Water leak detection อุปกรณ์ ตรวจจับน้ำรั่วซึม โดยเซนเซอร์จะทำหน้าที่ตรวจสอบน้ำท่วม น้ำล้น พร้อมทำการแจ้งเตือนไปยังสมาร์ทโฟนผ่านแอพพลิเคชั่น ได้ทันที แบบอัตโนมัติ ทำให้คุณทราบทันที ว่าจุดไหนที่เกิดเหตุน้ำรั่ว เหมาสำหรับผู้พักอาศัยในคอนโดซึ่งมีปัญหาน้ำรั่วซึมที่ซิงค์ล้างจาน ถ้ารั่วมากๆในขณะที่เราไม่อยู่น้ำอาจรั่วและท่วมห้องสร้างความเสียหายให้กับห้องพักของคุณได้ 3.กล้องวงจรปิดแบบ Doorbell อีกหนึ่งนวัตกรรมสำหรับคนยุค IOT ที่จะช่วยคุณระบุตัวบุคคล ที่เข้ามาบ้านของคุณ ผ่านสมาร์ทโฟนในมือคุณ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องออกไปดูหน้าบ้านเลย อุปกรณ์ชิ้นนี้จะทำการเปิดวิดีโอคอลผ่าน Doorbell หรือกระดิ่งอัจฉริยะ ให้คุณได้พูดคุยกับแขกผู้มาเยือนบ้านผ่านทางสมาร์ทโฟนได้ทันที อุ่นใจกับการบันทึกวิดีโอภายในตัวเครื่องและแจ้งเตือนอัตโนมัติได้ในทันทีผ่านระบบ WiFi หรือ อินเตอร์เน็ต 4.Door, Windows…
1. Sonos One ลำโพงอัจฉริยะของ Sonos เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการออกแบบอย่างหมดจดมีคุณสมบัติครบถ้วนและให้เสียงที่ยอดเยี่ยมซึ่งรวบรวมสิ่งที่ดีที่สุดในการใช้งานร่วมกันกับ Alexa และ Google Assistant รวมทั้งอุปกรณ์สมาร์ทโฮมของ Sonos เองซึ่งมีประสิทธิภาพเสียงที่ยอดเยี่ยม 2. Amazon Echo (2020) Amazon Echo ทรงกลมล่าสุดเป็นการปรับปรุงใหม่ทั้งหมดของลำโพงอัจริยะ ซึ่งเป็นรุ่นเรือธงของ Amazon และการยกเครื่องด้านความสวยงามที่น่าประทับใจ รวมถึงพลังเสียงที่ได้รับการปรับปรุง และยังมี Zigbee ในตัวอีกด้วย โปรเซสเซอร์AZ1 ใหม่ ที่จะช่วยลดเวลาที่ Alexa ใช้ในการตอบสนองต่อคำสั่งเป็นการปรับปรุงใหม่ทั้งหมดอีกด้วย
บริษัท ฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด Philips Lighting หรือ Philips บริษัทที่คนไทยรู้จักและคุ้นชินกันมานานกับหลอดไฟคุณภาพในวันนี้ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น “Signify” โดย Signify N.V. บริษัทแม่ที่อัมสเตอร์ดัม จดทะเบียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2561 ไปแล้ว แต่สำหรับในประเทศไทยกำลังดำเนินการขอจดทะเบียนชื่อใหม่อยู่ ทั้งนี้ ชื่อผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะยังคงเป็นแบรนด์ Philips เช่นเดิม เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบของการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล โดยใช้ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับ IoT เพื่อรวบรวมข้อมูลและบริหารจัดการระบบแสงสว่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ เผย Mega Trend ของโลกเกี่ยวกับการใช้แสง พบไลฟ์สไตล์, จำนวนประชากร และตัวเมืองเปลี่ยนไป ทำให้มีความต้องการใช้แสงมากขึ้น แต่ก็ยังต้องการใช้ไฟอย่างประหยัด และต้องการให้มีระบบดิจิทัลอย่าง IoT เข้ามาช่วยเพื่อนำไปสู่ Industry Transformation ในอนาคต “เราเลือกชื่อบริษัทใหม่ด้วยเหตุผลที่แสงสว่างนั้นกลายมาเป็นอีกหนึ่งภาษาอันชาญฉลาดซึ่งมีนัยยะทั้งการเชื่อมต่อและการเป็นสื่อนำ มันเป็นการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนสำหรับวิสัยทัศน์ทางยุทธศาสตร์รวมถึงเจตจำนงค์ที่จะปลดปล่อยศักยภาพอันน่ามหัศจรรย์ของแสงสว่างเพื่อชีวิตที่รุ่งโรจน์และโลกที่ดีขึ้นกว่าเดิม”Eric Rondolat, CEO Signify ประสบการณ์ที่ผ่านมาของ Signify ถูกผลักดันอย่างต่อเนื่องด้วยแนวคิด ‘แสงสว่างเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็น’ ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่เป็นการเติมเต็มศักยภาพและความเป็นไปได้อื่น ๆ เมื่อแสงสว่างถูกเชื่อมต่อเข้ากับโลกยุคใหม่ผ่านเครือข่าย ซอฟต์แวร์ เซนเซอร์ และแพลตฟอร์ม IoT…
ปัญหาในการใช้ WiFi ในบ้านก็คือ สัญญาณอ่อนและไปไม่ถึงซึ่งทำให้ความเร็วของอินเตอร์เน็ตลดลงและไม่เสถียร อะไรทำให้เครือข่ายของคุณช้าลง สัญญาณของ WiFi อ่อน อาจเป็นผลมาจากสิ่งกีดขวางเช่นพื้นประตูและผนังบ้านอาจกั้นระหว่างคุณกับเราเตอร์ของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสิ่งเหล่านั้นทำจากโลหะ, อิฐหรือคอนกรีต หรือบางทีระยะทางไกลเกินไป และ การรบกวนจากอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ไมโครเวฟโทรศัพท์ไร้สาย หรืออุปกรณ์เฝ้าดูเด็ก หรือ หากคุณอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับเครือข่ายและอุปกรณ์ WiFi อื่น ๆ เช่นในคอนโด หรือบ้านหลังใกล้เคียง การแก้ปัญหา เนื่องจากการแก้ปัญหาแบบเดิมๆเช่น การใช้เราเตอร์ที่สัญญาณแรงขึ้น หรือการใช้ Access Point หลายๆตัว หรือ ตัวทวนสัญญาณ (Range Extender) เกิดปัญหาการเดินสายและการติดตั้งอุปกรณ์ อีกทั้งก็ยังไม่แก้ไขเรื่องสัญญาณได้ดี และอาจทำให้ความเร็วลดลงอีกด้วย การแก้ปัญหาแบบใหม่ โดยการใช้ ระบบ Mesh WiFi หรือ Whole Home WiFi ประกอบด้วยเราเตอร์หลักที่เชื่อมต่อโดยตรงกับโมเด็มของคุณซึ่งมีขนาดเล็กกว่า Access pointวางไว้รอบ ๆ บ้านของคุณเพื่อให้สัญญาณ WiFiครอบคลุมเต็มพื้นที่ และใช้ SSID และรหัสผ่านเดียวกันเพื่อความสะดวกในการใช้งาน ระบบ Mesh WiFi…
บ้านอัจฉริยะ สมาร์ทโฮม เพิ่มความสะดวกสบาย ให้กับคุณโดยคุณสามารถควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้านให้ทำงานอัตโนมัติด้วยแอปบนสมาร์ทโฟน ไม่ว่าจะอยู่ในบ้านหรืออยู่ที่ไหนก็ตาม ลองนึกภาพตอนที่คุณกลับบ้านมาแล้วประตูรั้วเปิดต้อนรับ โดยที่คุณไม่ต้องลงจากรถ หรือสั่งเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านจากมือถือ รวมไปถึงให้ทำงานอัตโนมัติได้ ด้วยระบบเซนเซอร์ หรือ การตั้งเวลาทำงาน เพิ่มปลอดภัย คุณสามารถเช็คสถานะและควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ในบ้านได้ตลอดเวลา รวมไปถึง สัญญาณกันขโมย อุปกรณ์ตรวจจับควัน เซนเซอร์กันน้ำท่วม ซึ่งสามารถ ส่งการแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้เมื่อมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้น เพิ่มความประหยัด ปัญหาลืมปิดไฟ ปิดแอร์ ทำให้เสียค่าไฟแพงๆ จะหมดไป เพราะถึงคุณจะไม่อยู่ที่บ้านก็สามารถเช็คได้ว่า ไฟแต่ละดวงในบ้านและแอร์ในห้องต่างๆ ปิดหรือเปิดอยู่ และหากต้องการปิดก็ทำได้ด้วยแอปบนมือถือ ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลยเมื่อทุกคนคำนึงถึงความสะดวกและความง่ายดายที่อุปกรณ์บ้านอัจฉริยะมีให้ เนื่องจากอุปกรณ์ IoT เหล่านี้เชื่อมต่อถึงกันการจัดการการทำงานหลายอย่างจึงง่ายขึ้น